เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 8. เขมาเถริยาปทาน
[372] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชมาแล้วผ่านไป 7 เดือน
เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป จึงมีใจสังเวช
[373] มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ฉลาดในปัจจยาการ
ข้ามพ้นโอฆะ1 4 แล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[374] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[375] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[376] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณที่บริสุทธิ์ของหม่อมฉัน
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
[377] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย2
คล่องแคล่วในกถาวัตถุ
รู้แจ้งนัยแห่งพระอภิธรรม เชี่ยวชาญในศาสนา
[378] จากนั้น พระราชสวามีผู้ฉลาด
ตรัสถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งในโตรณวัตถุ
หม่อมฉันได้วิสัชนาโดยควรแก่กถา
[379] ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว
ทูลถามปัญหาเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น
เหมือนอย่างที่หม่อมฉันพยากรณ์

เชิงอรรถ :
1 โอฆะ หมายถึงสังกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี 4 คือ (1) กาโมฆะ (2) ภโวฆะ (3) ทิฏโฐฆะ (4) อวิชโชฆะ
2 วิสุทธิทั้งหลาย หมายถึงสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ และทิฏฐิวิสุทธิ (ที.ปา. (แปล) 11/304/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :437 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 9. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[380] พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
[381] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[382] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[383] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเขมาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เขมาเถริยาปทานที่ 8 จบ

9. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุบลวรรณาเถรี
(พระอุบลวรรณาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[384] พระอุบลวรรณาภิกษุณีถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
กราบไหว้พระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[385] “ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันข้ามพ้นชาติสงสารได้แล้ว
บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว ทุกข์ทั้งปวงหม่อมฉันให้สิ้นไปแล้วจึงขอบอกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :438 }